วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย

เมื่อออกซิเจนจากถุงลมในปอดแพร่เข้าสู่กระแสเลือดจะไปรวมตัวกับฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ในเม็ดเลือดแดง เป็นส่วนใหญ่ออกซิเจน (O2) จะทำปฏิกริยาทางเคมีกับฮีโมโกลบิน(Hb) กลายเป็นออกซีย์ฮีโมโกลบิน (oxyhemoglobin, Hbo2) ดังสมการ

ปริมาณของฮีโมโกลบินโดยปกติในเลือด 100 มิลลิลิตรจะมีอยู่ 15 กรัม (16 gm% ในเพศชาย, 15 gm% ในเพศหญิง) ฮีโมโกลบิน 1 กรัมจะรับออกซิเจนได้ 1.34 มิลลิเมตร ดังนั้น ในเลือด 100 มิลลิลิตร จึงสามารถจับออกซิเจนได้ 1.34 X 15 = 20.1 มิลลิลิตร หรือประมาณร้อยละ 20 แต่ในสภาพการณ์ที่เป็นจริงนั้น ฮีโมโกลบินในเลือดแดงไม่สามารถจะจับออกซิเจนได้ทั้งหมดจะรับได้เพียง ร้อยละ 95 เท่านั้น ดังนั้น ค่าของออกซิเจนในเลือดแดง 100 มิลลิลิตร จึงมีค่า 95 X 20.1 = 19.1 มิลลิลิตร ซึ่งออกซิเจนจำนวนนี้ถูกนำเข้าสู่ร่างกายโดยระบบไหลเวียนเพื่อไปแลกเปลี่ยนกับเซลล์ต่อไป

ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงจับออกซิเจนที่แพร่มาจากถุงลม นำไปส่งให้เซลล์ในเนื้อเยื่อต่างๆ

ที่มา - http://www.ipecp.ac.th/cgi-bin/Physio/sarira/rabb2.5.html

ไม่มีความคิดเห็น: