วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2551

โครงสร้างและคุณสมบัติของปอด

อากาศที่ไหลเข้าสู่ปอดจะต้องผ่านอวัยวะต่าง ๆ หลายส่วน เริ่มแรกจากทางจมูกหรือปากผ่านไปทางหลอดลม ซึ่งมีหน้าที่ทำความสะอาดเพิ่มความชื้นและทำให้อากาศอบอุ่นก่อนที่จะไปถึงถุงลม อากาศจากหลอดลมจะผ่านไปตามท่อแยกซึ่งเข้าสู่ปอดซีกซ้ายและขวา ไหลเข้าสู่ถุงลม (bronchiole) และถุงลมเล็กในปอด (alveoli) เพื่อไปแลกเปลี่ยนก๊าซกับเลือดที่มาสู่ปอดต่อไป

ความจุปอด (Lung Capacity)
ความจุปอด หมายถึง ความสามารถของปอด ที่จะรับปริมาณของอากาศเข้าสู่ปอดหรือระบายอากาศออกจากปอด ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของการหายใจ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • ปริมาณของอากาศขณะที่หายใจเข้าออกตามปกติ (Tidal volume, TV) มีปริมาณ 500 มิลลิลิตร
  • ปริมาณของอากาศที่หายใจเข้าเต็มที่ ลบด้วยปริมาณของอากาศที่หายใจเข้าออกตามปกติ (Inspiratory reserve volume, IRV) มีปริมาณ 2,500 มิลลิลิตร
  • ปริมาณของอากาศที่หายใจออกเต็มที่ ลบด้วยปริมาณของอากาศที่หายใจเข้าออกตามปกติ (Expiratory reserve volume, ERV) มีปริมาณ 1,000 มิลลิลิตร
  • ปริมาณของอากาศที่เหลืออยู่ในปอด หลังจากหายใจออกอย่างเต็มที่แล้ว (Residual volume, RV) มีปริมาณ 1,500 มิลลิลิตร
  • ปริมาณของอากาศที่หายใจเข้าเต็มที่หลังจากการหายใจออกอย่างเต็มที่ (Vital capacity, VC) มีปริมาณ 4,500 มิลลิลิตร
  • ปริมาณของอากาศที่หายใจเข้าเต็มที่ หลังจากหายใจออกตามปกติ (Inspiratory capacity ; IC) มีปริมาณ 3,000 มิลลิลิตร
  • ปริมาณของอากาศในปอดหลังจากหายใจเข้าเต็มที่ (Total lung capacity, TLC) มีปริมาณ 6,000 มิลลิลิตร
  • ปริมาณของอากาศที่เหลืออยู่ในปอด หลังจากการหายใจออกตามปกติ (Functional reaidual capacity, FRC) มีปริมาณ 2,500 มิลลิลิตร
  • ปริมาณของอากาศที่ไม่ได้เข้าไปในถุงลมในปอด (Dead apace) คือ อากาศที่ค้างอยู่ตามจมูก หลอดลม ก้านปอด มีปริมาณ 150 มิลลิลิตร

ปริมาณของอากาศที่หายใจ (Minute Volume or Pulmonary Ventilation)
ปกติแล้วการหายใจเข้าออกเราจะวัดปริมาตรเป็นอัตราต่อนาทีในขณะที่ร่างกายพัก จะมีปริมาณของอากาศที่หายใจ ประมาณ 5 – 8 ลิตรต่อนาที โดยการหายใจนาทีละประมาณ 12 – 20 ครั้ง แต่ขณะที่ออกกำลังกายหรือทำงานหนัก ปริมาณจะเพิ่มขึ้นถึง 130 ลิตรต่อนาทีในเพศหญิง และ 180 ลิตรต่อนาทีในเพศชาย ส่วนนักกีฬาที่ได้รับการฝึกอย่างดี ขณะออกกำลังกายหนัก ๆ อาจจะมีปริมาณของอากาศที่หายใจถึง 200 ลิตรต่อนาที และอัตราการหายใจจะเพิ่มขึ้นถึง 50 – 60 ครั้งต่อนาที

การแลกเปลี่ยนก๊าซภายในปอด
การแลกเปลี่ยนก๊าซระหว่างถุงลมในปอดกับเลือด ซึ่งอยู่ในเส้นเลือดฝอยรอบ ๆ ถุงลมในปอด เป็นไปตามกฎของการแพร่กระจาย คือก๊าซที่มีความดันมากจะแพร่ไปสู่ที่มีความดันน้อยกว่า การหาความดันของก๊าซแต่ละชนิดคิดตามร้อยละของส่วนผสมของก๊าซแต่ละชนิดในบรรยากาศ ซึ่งเป็นตามกฎของดัลตัน (Dalton’s Law) เมื่อบรรยากาศในความดัน 760 มิลลิเมตร

ที่มา - http://www.ipecp.ac.th/cgi-bin/Physio/sarira/rabb2.3.html

2 ความคิดเห็น:

laelewachtel กล่าวว่า...

Tritanium dioxide in food - T-Bone Art
Tritanium dioxide in food. Tritanium dioxide in food. ti89 titanium calculators Tritanium dioxide titanium frames in titanium alloy nier food. black oxide vs titanium drill bits Tritanium dioxide in food. Tritanium titanium white fennec dioxide in food. Tritanium dioxide in food.

sanees กล่าวว่า...

mn555 jessica simpson sandals,harrynederland,armani colombia,aerosolesbulgaria,mykitalatvija,jeffrey campbell portugal,legero shoes,aerosoles sandals,maui jim red sands canada gx100